ชั้นบรรยากาศ
การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 5 ชั้น ดังนี้
1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) วัดได้จากพื้นดินสูงขึ้นไปประมาณ 10 กิโลเมตรขอบเขตของบรรยากาศชั้นนี้ในแต่ละแห่งของโลกจะไม่เท่ากัน เช่น บริเวณเส้นศูนย์สูตรบรรยากาศชั้นนี้จะสูงจากพื้นดินขึ้นไปประมาณ 16-17 กิโลเมตร ส่วนบริเวณขั้วโลกจะมีระยะสูงจากพื้นดินขึ้นไปประมาณ 8-10 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ มีลักษณะดังนี้
1. อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยจะลดลงประมาณ6.5°C
ต่อ 1 กิโลกรัม สุดเขตของบรรยากาศชั้นเรียกว่า โทรโพพอส (Tropopause) มีอุณหภูมิต่ำ มาก เช่น ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร อุณหภูมิประมาณ –80°C และในบริเวณขั้วโลก ประมาณ –55°C
2. บรรยากาศชั้นนี้มีความแปรปรวนมากเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีไอน้ำเมฆฝนพายุ
ต่าง ๆ ฟ้าแลบ ฟ้าร้องและฟ้าผ่า
2. สตราโสเฟียร์ (Stratosphere) มีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 10-50 กิโลเมตร มีอากาศ
เบาบาง มีเมฆน้อยมาก เนื่องจากมีปริมาณไอน้ำน้อยอากาศไม่แปรปรวน นักบินจึงนำเครื่องบินบิน
อยู่ในชั้นนี้ บรรยากาศชั้นนี้มีแก๊สโอโซนมาก ซึ่งอยู่ที่ความสูงประมาณ 25 กิโลเมตร แก๊สโอโซน
นี้จะช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ไว้บางส่วน เพื่อไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลตผ่าน
ลงมาสู่พื้นผิวโลกมากเกินไป อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะเพิ่มขึ้นตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น
สุดเขตของบรรยากาศชั้นนี้เรียกว่า สตราโตพอส (Stratospause)
3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 50-80 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้
อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงเพิ่มขึ้นสุดเขตของบรรยากาศชั้นนี้เรียกว่า มีโซพอส
( Mesopause) ซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ –140°C เป็นบรรยากาศชั้นที่ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลก
( Mesopause) ซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ –140°C เป็นบรรยากาศชั้นที่ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลก
4. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) บรรยากาศชั้นนี้อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 80-500
กิโลเมตร ดาวตกและอุกกาบาตจะเริ่มลุกไหม้ ในบรรยากาศชั้นนี้ อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้
จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 80-100 km จากนั้นอัตราการสูงขึ้นของอุณหภูมิจะค่อย ๆ ลดลง .โดยทั่วไปอุณหภูมิจะอยู่ในช่วง 227- 1727°C บรรยากาศชั้นนี้มีความหนาแน่นของอนุภาคต่าง ๆ จางมาก แต่แก๊สต่างๆ ในชั้นนี้ จะอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคที่เป็นประจุไฟฟ้าเรียกว่า ไอออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางความถี่ได้ ดังนั้นบรรยากาศชั้นนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere)
5. เอกโซสเฟียร์ (Exosphere) คือบรรยากาศที่อยู่ใน ระดับความสูงจากผิวโลก 500 กิโลเมตรขึ้นไปไม่ มีแรงดึงดูดของโลก ดาวตกและอุกกาบาตจะไม่ลุกไหม้ในชั้นนี้ เนื่องจากมีแก๊สเบาบางมาก จนไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของบรรยากาศ
การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติทางอุตุนิยมวิทยาเป็นเกณฑ์
1. บริเวณที่มีอิทธิพลของความฝืด อยู่สูงจากผิวโลกประมาณ 2 กิโลเมตร
2. โทรโพสเฟียร์ชั้นกลางและชั้นบน อุณหภูมิชั้นนี้จะลดลงอย่างสม่ำเสมอตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น
3. โทรโพสเฟียร์ อยู่ระหว่างโทรโพสเฟียร์และสตราโทสเฟียร์
4. สตราโตสเฟียร์ มีลักษณะอากาศเหมือนกับสตราโทสเฟียร์ที่แบ่งโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์
5. บรรยากาศชั้นสูง เป็นชั้นที่อยู่เหนือสตราโตสเฟียร์ถึงขอบนอกสุดของบรรยากาศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น